กล้วยไม้สกุลช้างที่พบตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
กล้วยไม้สกุลช้างมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกล้วยไม้สกุลอื่น ๆ
กล้วยไม้สกุลช้างมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกล้วยไม้สกุลอื่น ๆ
- ลำต้น สั้นแข็งแรง ใบแข็งแรง หนาอวบน้ำ บางชนิดใบเล็กยาว ปลายใบหยักมนหรือเป็นฟันแหลม ใบมีลายเป็นเส้นขนานหลายเส้นตามแนวยาวของใบ
- ราก เป็นระบบรากอากาศ มีขนาดใหญ่ แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียวซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสงได้
- ช่อดอก ตั้งโค้งหรือห้อยย้อยลงมา ดอกจะออกกันแน่นช่อ กลีบดอกชั้นนอกโตกว่ากลีบชั้นใน ปากไม่มีข้อพับ ปลายปากไม่หยัก หรือหยักเป็นลอนเล็ก ๆ 3 ลอน ปลายปากชี้ตรงไปข้างหน้าเชื่อมต่อกับฐานเส้าเกสร เดือยดอกชี้ไปข้างหลัง มีอับเรณู 2 ก้อน แยกออกจากกัน
- ออกดอกปีละ 1 ครั้ง บางต้นอาจจะออกดอกครั้งละหลายช่อ
เอื้องไอยเรศเผือก |
การปลูกเลี้ยง
วิธีการปลูก โดยทั่วไปมักปลูก 2 วิธี ได้แก่
แสงแดด
การให้น้ำ
การให้ปุ๋ย
- การปลูกในภาชนะ เช่น กระเช้าไม้สัก ท่อนไม้มีเปลือก กระถางก้นเตี้ยแบบแขวน
- ผูกติดไว้กับต้นไม้ วิธีการปลูกจะทำตามชนิดของกล้วยไม้ เช่น ช้าง ออกดอกฤดูหนาว ปลูกโดยหันไปทางทิศใต้ เพื่อรับแสงอาทิตย์ที่ส่องทางทิศใต้ ไอยเรศและเขาแกะ ออกดอกฤดูร้อน ปลูกโดยหันทางทิศใดทิศหนึ่งเพื่อรับแสงแดดจากด้านบน
- การย้ายกระถางควรระวังความเสียหายของราก ถ้ารากติดกระถางให้แช่ในน้ำประมาณ 10 นาทีแล้วแกะรากออก
แสงแดด
- กล้วยไม้สกุลช้าง แสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก การปลูกจึงควรหันไปทางทิศที่รับแสงแดดได้ดี กล้วยไม้ขนาดเล็กควรได้รับแสงไม่เกิน 40 % ความชื้นค่อนข้างสูง
การให้น้ำ
- ใช้หัวฉีดแบบฝอยละเอียดพ่นละอองทุกเช้าให้ชุ่ม
การให้ปุ๋ย
- ต้นไม้ขนาดเล็กให้ปุ๋ยสูตร 30 – 20 – 10 ทุก 7 วัน ในช่วงฤดูออกดอกให้สูตร 10 – 52 – 10 ประมาณ 2 ครั้ง แล้วให้ปุ๋ยอื่น ๆ ตามปกติ เช่น ปุ๋ยสูตร 21 – 21 – 21
ช้างฟิลิปปินส์ |
ช้างฟิลิปปินส์ |
เว็บไซด์สนับสนุนข้อมูลดี ๆ ให้แก่เรา ด้วยความขอบคุณ :-
nanapanmai.com, guru.google.co.th
รูปภาพสวย ๆ จากเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่มิได้เอ่ยนาม ด้วยความขอบคุณยิ๋งค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น